คู่มือ

ประสบการณ์กับแบรนด์

ความหมาย ความสำคัญ ตัวอย่าง เคล็ดลับ

ประสบการณ์กับแบรนด์ หมายถึงการรับรู้และความประทับใจโดยรวมที่ลูกค้ามี เมื่อมีส่วนร่วมกับแบรนด์ของคุณ

เริ่มใช้ Amazon Ads เพื่อแสดงสินค้าและสร้างแคมเปญของคุณ

หากคุณมีประสบการณ์จำกัด โปรดติดต่อเราเพื่อขอรับบริการแบบมีการจัดการโดย Amazon Ads มีข้อกำหนดด้านงบประมาณขั้นต่ำ

สำรวจการศึกษาที่ปรับแต่งให้เหมาะสมและข้อมูลเชิงลึกที่มีอยู่เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพแอสเซทของชิ้นงานโฆษณา Amazon ของคุณ

ช่วยให้ลูกค้าค้นพบแบรนด์และสินค้าของคุณ ด้วยชิ้นงานโฆษณาที่ปรากฏในหน้าผลการช้อปปิ้งที่เกี่ยวข้องบน Amazon

ประสบการณ์กับแบรนด์คืออะไร

ประสบการณ์กับแบรนด์ หมายถึงการรับรู้โดยรวมที่ลูกค้ามี เมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับธุรกิจของคุณ ซึ่งครอบคลุมถึงจุดที่ลูกค้าเจอสินค้าทั้งหมดตลอดเส้นทางของลูกค้า รวมถึงการโฆษณา การตลาดดิจิทัล สินค้า และการบริการลูกค้า

การโฆษณา

ลูกค้าพบแบรนด์ของคุณผ่านการโฆษณาในรูปแบบต่าง ๆ เช่น โฆษณา sponsored

การตลาดดิจิทัล

พวกเขายังสัมผัสประสบการณ์กับแบรนด์ของคุณผ่านจุดที่ลูกค้าเจอสินค้าทางดิจิทัล รวมถึงเว็บไซต์หรือร้านค้าของคุณ โซเชียลมีเดีย และช่องทางออนไลน์อื่น ๆ

สินค้า

ซึ่งรวมถึงการออกแบบ คุณภาพ ฟังก์ชันการทำงาน และบรรจุภัณฑ์ของสินค้าของคุณ

การบริการลูกค้า

มาตรฐานการบริการของคุณมีผลโดยตรงต่อความประทับใจของลูกค้าที่มีต่อแบรนด์ของคุณ การบริการลูกค้าที่ดีจะส่งผลให้ได้รับรีวิวออนไลน์ในเชิงบวกและคำแนะนำแบบปากต่อปาก

สิ่งที่แบรนด์ของคุณทำให้ลูกค้ารู้สึกนั้นมีความเกี่ยวพันกับประสบการณ์ต่อแบรนด์ที่คุณนำเสนอเป็นอย่างมาก ลูกค้าสร้างการรับรู้แบบองค์รวมเกี่ยวกับแบรนด์ของคุณจากปฏิสัมพันธ์ทั้งหมดเหล่านี้ ซึ่งจำเป็นต้องสอดคล้องกันและสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีต่อแบรนด์

เพราะเหตุใดประสบการณ์กับแบรนด์จึงมีความสำคัญ

การสร้างประสบการณ์กับแบรนด์ในเชิงบวกช่วยให้คุณสร้างความสัมพันธ์ทางอารมณ์กับลูกค้าได้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ซึ่งสามารถเพิ่มการรับรู้ของแบรนด์และความภักดีต่อแบรนด์ได้

ประโยชน์อื่น ๆ ของประสบการณ์กับแบรนด์ ได้แก่

  1. การวางตำแหน่งแบรนด์
  2. ช่วยให้ธุรกิจของคุณโดดเด่นด้วยการเสริมความแข็งแกร่งให้กับการวางตำแหน่งแบรนด์ของคุณ

  3. ความภักดีของลูกค้า
  4. การสร้างความไว้วางใจในแบรนด์กับลูกค้าด้วยประสบการณ์กับแบรนด์ที่สม่ำเสมอ ทำให้ลูกค้ามีแนวโน้มที่จะซื้อซ้ำและแนะนำสินค้าของคุณให้กับผู้อื่น

  5. คุณค่าของแบรนด์
  6. เพิ่มคุณค่าให้สินค้าของคุณ ช่วยให้คุณสร้างการจดจำแบรนด์ได้ดีขึ้นและสร้างชื่อเสียงที่น่าเชื่อถือมากขึ้น

ประสบการณ์กับแบรนด์ เทียบกับ ประสบการณ์ของผู้ใช้

แม้ว่าประสบการณ์กับแบรนด์และประสบการณ์ของผู้ใช้จะมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด แต่ก็มีข้อแตกต่างที่สำคัญบางประการ ประสบการณ์ของผู้ใช้มุ่งเน้นไปที่ปฏิสัมพันธ์ระหว่างลูกค้ากับสินค้าที่เฉพาะเจาะจง ซึ่งเกี่ยวข้องกับกระบวนการออกแบบและการเพิ่มประสิทธิภาพสินค้าเพื่อให้ใช้งานได้ง่ายขึ้น ซึ่งเป็นการช่วยปรับปรุงความพึงพอใจของลูกค้า ในทางกลับกัน ประสบการณ์กับแบรนด์คือการรับรู้แบบองค์รวมของแบรนด์ ทั้งสองสิ่งมีความสำคัญในการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าและการสร้างความภักดีของลูกค้า แต่ประสบการณ์แต่ละประเภทจะมุ่งเน้นไปยังแง่มุมเกี่ยวกับเส้นทางของลูกค้าที่แตกต่างกัน

ประสบการณ์กับแบรนด์

คุณจะสร้างกลยุทธ์ด้านประสบการณ์ของแบรนด์ได้อย่างไร

การสร้างกลยุทธ์ด้านประสบการณ์กับแบรนด์จำเป็นต้องใช้แนวทางที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลร่วมกับความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งไม่ใช่การดำเนินงานเพียงครั้งเดียว และกลยุทธ์ของคุณจำเป็นต้องได้รับการประเมินและปรับปรุงอย่างต่อเนื่องเพื่อให้คงมีความเกี่ยวข้องต่อไป

  1. เริ่มต้นด้วยคุณค่าของแบรนด์และลูกค้าของคุณ
  2. ขั้นตอนเริ่มต้นในการสร้างกลยุทธ์ด้านประสบการณ์กับแบรนด์ คือ การกำหนดตัวตนของแบรนด์ให้ชัดเจน ซึ่งรวมถึงวัตถุประสงค์และคุณค่าของแบรนด์ ซึ่งจะเป็นเสมือนรากฐานของกลยุทธ์ด้านประสบการณ์กับแบรนด์ของคุณ ต่อไป คุณจะต้องเข้าใจว่ากลุ่มเป้าหมายของคุณคือใครและพวกเขาต้องการอะไร สิ่งนี้จะช่วยคุณออกแบบประสบการณ์กับแบรนด์ของคุณให้ตรงกับความต้องการของพวกเขาได้

  3. รองรับการโต้ตอบกับลูกค้าที่เกี่ยวข้อง
  4. หลังจากกำหนดคุณค่าของแบรนด์และกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการแล้ว คุณจะต้องระบุจุดที่ลูกค้าเจอสินค้า ที่ซึ่งลูกค้าจะมีปฏิสัมพันธ์กับแบรนด์ และออกแบบประสบการณ์สำหรับแต่ละจุดเพื่อให้สอดคล้องกับแบรนด์ของคุณ การทำเช่นนี้จะช่วยสร้างประสบการณ์ของแบรนด์ที่สอดคล้องกันและมีความเหนียวแน่น

  5. วัดผลและปรับกลยุทธ์ของคุณให้เหมาะสม
  6. วัดผลประสิทธิภาพของกลยุทธ์ด้านประสบการณ์กับแบรนด์ของคุณอย่างต่อเนื่อง และปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม การใช้ผลตอบรับของลูกค้าและเมทริกซ์แบรนด์สามารถช่วยคุณระบุจุดที่ต้องปรับปรุงได้ จับตาดูแนวโน้มของตลาดและวิธีการใหม่ ๆ ในการปรับปรุงประสบการณ์ของลูกค้า ตรวจสอบให้แน่ใจว่าประสบการณ์ด้านแบรนด์ของคุณมีความเกี่ยวข้องและมีส่วนร่วมอยู่เสมอ

ตัวอย่างของการตลาดด้านประสบการณ์กับแบรนด์

กรณีศึกษา

Govee ใช้เนื้อหาที่สะดุดตาและสมจริงในร้านค้าและโพสต์เพื่อนำเสนอแบรนด์และดึงดูดความสนใจของนักช้อปบน Amazon การสร้าง "เอกลักษณ์" ของแบรนด์ที่ไม่เหมือนใครเพื่อใช้ในร้านค้า โพสต์ และสินค้าโฆษณาอื่น ๆ ช่วยสร้างความประทับใจไม่รู้ลืมแก่นักช้อปที่ซื้อสินค้าไปแล้ว

สำหรับ Govee สไตล์เป็นหัวใจสำคัญในการรักษาประสบการณ์กับแบรนด์ที่สม่ำเสมอทั่วทั้ง Amazon "สีฟ้า Govee" เป็นสีหลักของแบรนด์ที่ปรากฏให้เห็นตลอดเวลาบนร้านค้าและโพสต์ทั้งหมดของพวกเขา รวมถึงฟอนต์ที่ใช้เพียงรูปแบบเดียวเพื่อความสอดคล้องกัน ความมุ่งมั่นที่จะแสดงสินค้าผ่านเนื้อหาคุณภาพสูงช่วยให้พวกเขาสามารถสร้างคุณค่าของแบรนด์และความภักดีของลูกค้าที่แข็งแกร่งขึ้น

ผู้คนที่กำลังสนุกสนานกับดนตรี

กรณีศึกษา

ผู้ผลิต IMC Toys และ XChannel ซึ่งเป็นพันธมิตรตัวแทนของพวกเขาใช้ Sponsored Brands เพื่อสร้างประสบการณ์กับแบรนด์ที่น่าประทับใจ โฆษณาของพวกเขาจะมีโลโก้แบรนด์ หัวเรื่องแบบกำหนดเอง และสินค้าหลายรายการ ซึ่งจะปรากฏในตำแหน่งที่มองเห็นได้ชัดเจนเพื่อช่วยสร้างการจดจำแบรนด์ จากนั้นนักช้อปได้คลิกผ่านไปยังร้านค้า IMC Toys บน Amazon เพื่อค้นหาข้อเสนอสินค้าที่กว้างขึ้น และลูกค้ายังสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องราวเบื้องหลังแบรนด์

เด็กผู้หญิงกำลังเล่นกับของเล่น

กรณีศึกษา

Code3 ใช้โฆษณาหลายแบบในกลยุทธ์ของตนเพื่อพิจารณาเส้นทางของนักช้อปและประสบการณ์กับแบรนด์ พวกเขาได้สร้างแคมเปญ Sponsored Display ที่รวบรวมสินค้าที่เคยกำหนดให้กับแคมเปญแต่ละรายการแยกกันให้เป็นแคมเปญที่มีสินค้าหลายชิ้นที่มีขนาดใหญ่ขึ้น นอกเหนือจากการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีแมชชีนเลิร์นนิงของ Amazon Ads เพื่อช่วยเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายด้วยสินค้าที่พวกเขาอาจสนใจแล้ว Code3 ยังนำโฆษณาแบบกำหนดเองมาใส่ไว้ในแคมเปญ Sponsored Display เพื่อมอบประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับลูกค้ามากขึ้น ในขณะเดียวกัน พวกเขาใช้การระบุเป้าหมายอัตโนมัติของ Sponsored Products เป็นกลยุทธ์แบบเปิดเสมอเพื่ออัปเดตและปรับให้เหมาะสมอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้คีย์เวิร์ดที่ดีที่สุด

ผู้ชายและผู้หญิงที่กำลังมีความสุข

เคล็ดลับในการปรับปรุงประสบการณ์กับแบรนด์ด้วย Amazon Ads

การโฆษณาเป็นรูปแบบหนึ่งของการสร้างประสบการณ์กับแบรนด์ของคุณ ดังนั้นการปรับกลยุทธ์โฆษณาของคุณให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ด้านประสบการณ์กับแบรนด์โดยรวมจะช่วยสร้างความเชื่อมโยงทางอารมณ์กับลูกค้าได้ ต่อไปนี้เป็นวิธีในการปรับปรุงประสบการณ์กับแบรนด์ของคุณโดยการใช้โฆษณา:

  1. ปรับกลยุทธ์การโฆษณาของคุณให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และคุณค่าของแบรนด์ เพื่อให้แคมเปญของคุณเสริมสร้างประสบการณ์กับแบรนด์โดยรวมของคุณ
  2. ลองใช้การโฆษณาหลายประเภท ในเวลาเดียวกันเพื่อช่วยเพิ่มความสามารถในการค้นพบธุรกิจของคุณด้วยตำแหน่งโฆษณาหลายตำแหน่ง และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในที่ที่พวกเขาอยู่ใน Amazon
  3. ใช้การเล่าเรื่องและแอสเซทของชิ้นงานโฆษณาที่หลากหลายเพื่อสร้างโฆษณาที่มีส่วนร่วม น่าจดจำ และกระตุ้นอารมณ์ความรู้สึกของกลุ่มเป้าหมายที่คุณต้องการ อย่าลืมใช้การสร้างแบรนด์ที่มีความสม่ำเสมอในโฆษณาของคุณ เพื่อให้แน่ใจว่าประสบการณ์ของแบรนด์นั้นมีความสอดคล้องกัน
  4. ติดตามดูประสิทธิภาพของแคมเปญการโฆษณาของคุณและทำการปรับเปลี่ยนที่จำเป็นเพื่อปรับปรุงประสบการณ์กับแบรนด์

ต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมใช่หรือไม่

เรียนรู้วิธีการสร้างประสบการณ์กับแบรนด์เชิงบวกเพื่อช่วยกระตุ้นการรับรู้ของแบรนด์และการพิจารณาซื้อสินค้าของคุณในคำแนะนำของเรา:

หากคุณมีประสบการณ์จำกัด โปรดติดต่อเราเพื่อขอรับบริการแบบมีการจัดการโดย Amazon Ads มีข้อกำหนดด้านงบประมาณขั้นต่ำ