ความกังวลด้านสิ่งแวดล้อมและการเป็นพลเมืองโลก: โลกทัศน์ 2 ประการกำลังกำหนดวิธีในการซื้อสินค้าของผู้บริโภค
วันที่ 11 พฤศจิกายน 2021
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ ผู้บริโภคหันมาเลือกซื้อสินค้าตามค่านิยมส่วนตัวกันมากขึ้น ตอนนี้การที่นักช้อปจำนวนมากจะใช้จ่ายไปกับค่านิยมส่วนตัวได้กลายเป็นธรรมเนียมไปแล้ว
ผู้คนทั่วโลกมีความกังวลเกี่ยวกับอนาคต พวกเขากำลังได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อน ต้องคอยติดตามสุขภาพและความปลอดภัยของตัวเอง และเข้าไปมีส่วนร่วมในการเคลื่อนไหวเพื่อความยุติธรรมทางสังคมเพื่อที่จะทำให้สังคมโดยรวมดีขึ้น ในโลกของผู้บริโภค ความกังวลเหล่านี้กำลังมีบทบาทโดยทำให้ผู้คนซื้อของโดยนึงถึงคนอื่นมากขึ้น ผู้คนไม่ได้คาดหวังแค่เพียงสินค้าคุณภาพในราคาที่จับต้องได้เท่านั้น พวกเขาคาดหวังว่าบริษัทต่าง ๆ จะมีส่วนร่วมในการทำให้โลกดีขึ้น
เมื่อเร็ว ๆ นี้ Amazon Ads ได้ร่วมงานกับ Environics Research ในการสร้างแบบสำรวจระดับโลกเพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับค่านิยมทางสังคมที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค เราพบว่าผู้บริโภคทั่วโลกคาดหวังที่จะได้รับอะไรจากแบรนด์มากขึ้น: 83% ของผู้บริโภคในสหรัฐฯ 88% ของผู้บริโภคในยุโรป 1 88% ของผู้บริโภคชาวแคนาดา 2 และ 95% ของผู้บริโภคชาวเม็กซิกัน 3 เห็นว่าควรมีแบรนด์ต่า่ง ๆ มากกว่านี้ที่เข้าไปมีส่วนร่วมในการช่วยโลกใบนี้ 55% ของผู้บริโภคในสหรัฐฯ 70% ของผู้บริโภคในยุโรป 4 66% ของผู้บริโภคชาวแคนาดา 5 และ 83% ของผู้บริโภคชาวเม็กซิกัน 6 มีแนวโน้มมากกว่าที่จะซื้อสินค้าจากแบรนด์ที่พร้อมจะแสดงจุดยืนเกี่ยวกับประเด็นทางสังคม

55% ของผู้บริโภคในสหรัฐฯ 70% ของผู้บริโภคในยุโรป 66% ของผู้บริโภคชาวแคนาดา และ 83% ของผู้บริโภคชาวเม็กซิกันมีแนวโน้มมากกว่าที่จะซื้อสินค้าจากแบรนด์ที่พร้อมแสดงจุดยืนเกี่ยวกับประเด็นทางสังคม
จากผลการวิจัยของเราพบว่า มีประเด็นทางสังคมสองประเด็นที่ผู้บริโภคอยากสนุบสนุน ได้แก่ ความกังวลด้านสิ่งแวดล้อมและการเป็นพลเมืองโลก
ความกังวลด้านสิ่งแวดล้อม
นักช้อปทั่วโลกต่างห่วงใยมากขึ้นว่าการตัดสินใจซื้อของพวกเขาจะส่งผลกระทบอย่างไรกับโลก ไม่ว่าจะเป็นแหล่งกำเนิด ห่วงโซ่อุปทาน บรรจุภัณฑ์ หรือการรีไซเคิล นักช้อปในปัจจุบันกำลังพยายามที่จะสนับสนุนแบรนด์ที่มุ่งมั่นในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อันที่จริงแล้ว 71% ของผู้บริโภคในสหรัฐฯ และ 79% ของผู้บริโภคในยุโรปเห็นด้วยกับคำกล่าวข้างต้น: “ฉันเบื่อแบรนด์ที่ทำเหมือนว่าพวกเขาไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม” 7
ค่า่นิยมทางสังคมของผู้บริโภคที่มีความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม
ความห่วงใยด้านนิเวศวิทยาเป็นค่านิยมสำคัญของนักช้อปที่ยึดหลักความยั่งยืน ผู้บริโภคกลุ่มนี้มักจะแสดงให้เห็นว่าตนสามารถปรับตัวเข้ากับความซับซ้อนและต้องการจะสำรวจความซับซ้อนนั้นในฐานะที่เป็นแหล่งที่มาของโอกาส คนกลุ่มนี้มีแนวโน้มที่จะต้องการสถานะที่ได้การยอมรับ โดยปราถนาจะได้รับการนับถือและความเคารพจากผู้อื่น ผู้บริโภคที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมยังเห็นการโฆษณาเป็นสิ่งกระตุ้นและเพลิดเพลินกับการดูโฆษณาที่สวยงามอีกด้วย นอกจากนี้ พวกเขายังเชื่อในความสำคัญของแบรนด์และให้ความสำคัญมากกับชื่อยี่ห้อของสินค้าหรือบริการ
ข้อมูลที่ผู้โฆษณาได้รับ
นักช้อปที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมมองหาแบรนด์ที่มีความมุ่งมั่นต่อหลักความยั่งยืน ในสหรัฐฯ 60% ของผู้บริโภคแสวงหาแบรนด์ที่ยึดหลักความยั่งยืนในการดำเนินธุรกิจ ในยุโรป 71% ของผู้บริโภคก็มีพฤติกรรมเช่นเดียวกัน 8 นอกจากนี้ 55% ของผู้บริโภคในสหรัฐฯ และ 66% ของผู้บริโภคในสหภาพยุโรปยังยินดีที่จะจ่ายมากขึ้นสำหรับสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 9 แบรนด์ที่ต้องการเข้าถึงนักช้อปที่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมก็ควรนำเอาหลักความยั่งยืนไปใส่ไว้ในข้อความการตลาดในช่องทางต่าง ๆ ด้วย พวกเขาควรให้ความรู้แก่ผู้บริโภคว่าพวกเขาจะลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร ไม่ว่าจะเรื่องบรรจุภัณฑ์ ในโฆษณาวิดีโอ หรือบนเว็บไซต์ของพวกเขา ผู้บริโภคกลุ่มนี้ต้องการรายละเอียดและความโปร่งใส และพวกเขายินดีที่จะจ่ายเพิ่มขึ้นสำหรับสิ่งเหล่านี้
การเป็นพลเมืองโลก
เทคโนโลยีได้ทำให้โลกไร้พรมแดน และผู้คนทั่วโลกสามารถเชื่อมต่อกันได้ ผู้บริโภคสามารถสตรีมเพลงและภาพยนตร์จากประเทศอื่น ๆ สามารถค้นพบสินค้ายอดนิยมในภูมิภาคอื่น ๆ และแชทแบบเรียลไทม์กับผู้คนทั่วโลกได้ ไม่ว่าพวกเขาจะพูดภาษาเดียวกันหรือไม่ก็ตาม ความเชื่อมโยงทั่วโลกนี้ได้เปลี่ยนความรู้สึกของการเป็นชุมชนสำหรับเราทุกคน ทำให้เราสามารถเติบโตได้ทั้งในโลกออนไลน์และโลกออฟไลน์ ผู้บริโภคราวๆ 8 ใน 10 คนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า พวกเขาชอบที่ได้รู้สึกว่ามีการเชื่อมต่ออกับคนอื่น ๆ ที่มีความสนใจคล้ายคลึงกัน (78% ในสหรัฐฯ 79% ในยุโรป) 10
ค่านิยมทางสังคมของผู้บริโภคที่บอกว่าตนเองเป็นพลเมืองโลก
ผู้บริโภคกลุ่มนี้มักจะมีโลกทัศน์กว้างขวางอันเนื่องมาจากจิตสำนึกรักษ์โลกของพวกเขา (หรือตระหนักถึงการเป็นส่วนหนึ่งของโลก) พวกเขาไม่ยึดติดกับชาติพันธุ์และรู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกับผู้คนในทุกประเทศ พวกเขาต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับขนบธรรมเนียมและมรดกของกลุ่มเชื้อชาติและชาติพันธุ์ทั้งหมดในประเทศของพวกเขา (75% ในสหรัฐฯ 67% ในยุโรป) 11 นอกจากนี้ พวกเขายังให้การสนับสนุนความหลากหลายทางวัฒนธรรม และเปิดกว้างต่อวัฒนธรรมต่างๆ ชุมชนทางชาติพันธุ์ และผู้อพยพที่เป็นส่วนหนึ่งของประเทศของพวกเขา
ข้อมูลที่ผู้โฆษณาได้รับ
ผู้บริโภคกว่าครึ่งหนึ่งในสหรัฐอเมริกาและยุโรปเชื่อว่า ความสามารถในการเชื่อมต่อกับทุกคนและทุกอย่างในโลกออนไลน์จะช่วยให้เราเชื่อมต่อกันมากกว่าที่เคยในรูปแบบที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ (52% ในสหรัฐฯ 55% ในยุโรป) 12 ทำให้เกิดโอกาสมากมายสำหรับผู้บริโภคกลุ่มนี้ในการที่จะสำรวจโลกในมุมที่แตกต่างไป รวมถึงแสดงตัวตนภายในเครือข่ายเสมือนจริงอันทันสมัยนี้ด้วย ผู้บริโภคส่วนใหญ่กล่าวว่า พวกเขาเป็นพลเมืองโลกมากกว่าเป็นพลเมืองของประเทศตนเอง (52% ในสหรัฐฯ 60% ในยุโรป) 13 ดังนั้นผู้บริโภคจึงต้องการให้แบรนด์สะท้อนภาพของโลกที่รุ่มรวยและหลากหลายที่พวกเขามองเห็น พวกเขาต้องการเห็นภาพความหลากหลายทางวัฒนธรรมให้มากขึ้น: 63% ของผู้บริโภคในสหรัฐฯ 72% ของผู้บริโภคในยุโรป 14 72% ของผู้บริโภคชาวแคนาดา 15 และ 83% ของผู้บริโภคชาวเม็กซิกัน 16 ต้องการเห็นภาพความหลากหลายและการเป็นตัวแทนให้กับความหลากหลายนี้มากขึ้นในโฆษณา แบรนด์ควรพิจารณาถึงการตระหนักในเรื่องโลกทัศน์ที่กว้างไกบมากขึ้นของผู้บริโภค และสะท้อนออกมาในการตลาดและการโฆษณา แบรนด์ควรต้องมีผู้คนจากภูมิหลังและอัตลักษณ์ที่แตกต่างกันทั้งในรูปภาพที่ใช้และเรื่องราวที่บอกเล่า
แบรนด์จะสามารถเชื่อมต่อกับผู้บริโภคที่ใส่ใจสังคมได้อย่างไร
ผู้บริโภคต้องการสนับสนุนแบรนด์ที่สอดรับกับค่านิยมของพวกเขา โดยเฉพาะในด้านสิ่งแวดล้อม ความหลากหลายและการรวมผู้คนที่แตกต่างกัน เพราะสิ่งเหล่านี้มีความเกี่ยวข้องกับการเป็นพลเมืองโลก เมื่อพูดถึงสิ่งแวดล้อมแล้ว นักช้อปที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมจะมองหาสารที่คงเส้นคงวาและความโปร่งใสในเรื่องแนวทางปฏิบัติเพื่อความยั่งยืนจากแบรนด์ ในเรื่องความหลากหลายและการรวมผู้คนที่แตกต่าง ผู้บริโภคต้องการที่จะเห็นโลกของพวกเขาในแบรนด์ที่พวกเขาซื้อในรูปแบบของความเกี่ยวข้องและการแสดงความหลากหลายทางเชื้อชาติ อายุ รสนิยมทางเพศ ศาสนา ความสามารถ หรืออัตลักษณ์อื่น ๆ อย่างจริงใจ แบรนด์จะต้องดำเนินการในเรื่องนี้อย่างจริงใจและจงใจ เนื่องจากผู้บริโภคในปัจจุบันสามารถมองออกหากแบรนด์มีท่าทีที่จะฉวยโอกาสหรือเสแสร้ง
หากมีการแสดงให้เห็นถึงค่านิยมเหล่านี้อย่างสม่ำเสมอ รวมถึงแสดงให้เห็นว่าแบรนด์ได้สร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมอย่างไร แบรนด์ก็จะสามารถกระชับความสัมพันธ์กับผู้บริโภคที่มีอยู่แล้วได้
หากต้องการรับข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการเชื่อมต่อกับกลุ่มเป้าหมายโดยใช้ค่านิยม โปรด อ่านคู่มือเรื่อง “สร้างผลกระทบมากกว่า” ของเรา
แหล่งที่มา
1 การวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม “Amazon Advertising | หัวข้อค่านิยมทางสังคมของผู้บริโภคทั่วโลก” สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร สเปน ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี 2021
2 การวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม “การสร้างแบรนด์ให้มีความหมาย” แคนาดา 2020
3 การวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม “การสร้างแบรนด์ให้มีความหมาย” เม็กซิโก 2020
4 การวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม “Amazon Advertising | หัวข้อค่านิยมทางสังคมของผู้บริโภคทั่วโลก” สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร สเปน ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี 2021
5 การวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม “การสร้างแบรนด์ให้มีความหมาย” แคนาดา 2020
6 การวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม “การสร้างแบรนด์ให้มีความหมาย” เม็กซิโก 2020
7-14 การวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม “Amazon Advertising | หัวข้อค่านิยมทางสังคมของผู้บริโภคทั่วโลก” สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร สเปน ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี 2021
15 การวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม “การสร้างแบรนด์ให้มีความหมาย” แคนาดา 2020
16 การวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม “การสร้างแบรนด์ให้มีความหมาย” เม็กซิโก 2020